เกี่ยวกับฉัน

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

ภาษาระยอง..ภาษาถิ่น

“แกงไก่ใส่มะเขือเม่ด  แกงเผ็ดบ้านเก่า  ข้าวเม่ายายคำ  ดื่มน้ำมะเน่ด

ไปเที่ยวพนั่ส  ทางมันค่ด  ร่ถมันฟั่ด  ปลูกสำมะร่ดยังไม่ทันลั่ดควายมันยั่ดเช่ด

ไปล่อเบ็ดหมดสนุก  ตกกะหลุกขาเคล่ด….”  จะพูดเสียงหนัก  (เหน่อ)  คำที่ใช้ไม้ไต่คู้  จะใส่วรรณยุกต์เอกลงไปแทนจึงจะได้สำเนียงถูกต้อง

นอกจากสำเนียงแล้ว  คำที่นำไปใช้มีความหมายต่างออกไป  ตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น  “มะเขือเม่ด”  คือมะเขือพวง  “สำมะร่ด”  ก็คือสับปะรด
“ยั่ด”  ก็มีความหมายว่ากิน  “ล่อเบ็ด”  ก็คือเบ็ดล่อ  “กะหลุก”  ก็คือหลุมเล็กๆ
เช่น  “เอาได้”  ถ้าคนจังหวัดอื่นมาพบหญิงสาวชาวระยองรู้สึกพอใจ  และถามคนระยองว่า  “ผู้หญิงคนนี้เป็นอย่างไร”  ชาวระยองมักจะตอบว่า  “เอาได้”
คำว่า  “เอาได้” ของชาวระยอง  หมายถึง  มีสรรพคุณเป็นคนสวย  มารยาทดีงามพอใช้  ขออย่าได้คิดเป็นอย่างอื่น
และคำที่มีความหมายว่า  “มาก”  ของชาวระยองก็มีมากคำที่ใช้พูดกัน  เช่น  พอแรง  ,   นักนั่ก  ,  บานเต  ,  บานตะเกียง  ,  บานเบอะ  ,  เต็มตำ  ,  เต็มปึ้ด  ,  มากส…า..า
ฉันไปเที่ยวทั้งวันสนุกส..า..า  (ลากเสียงยาว)  ก็หมายความว่าเที่ยวกันสนุกมาก

เนื่องจากจังหวัดระยองเป็นเมืองอุตสาหกรรม  ผู้คนต่างจังหวัดอพยพมาประกอบอาชีพมากมาย  ขนย้ายครอบครัวมาทำมาหากิน  สนใจที่จะศึกษาภาษาถิ่นเพื่อดำรงชีวิต  จึงเป็นจุดเด่นควรอนุรักษ์
อนุชนรุ่นหลังเกิดความภูมิใจในภาษาตนและไม่คิดละอายเหมือนแต่ก่อน  จึงได้พยายามค้นคว้าหาคำมาเพิ่มเติมขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือและผู้ที่สนใจศึกษา  เพื่อให้เป็นประโยชน์และควรอนุรักษ์สืบต่อไป
หมวด ก.กิน

กะดากหัก(เฉพาะที่บ้านค่าย) เป็น คำนาม หมายถึง ควายที่ใกล้จะตกลูก เรียก ควายกะดากหักจะออกสำเนียงว่า ฟายกะด่ากฮัก สังเกตได้จาก กระดูกเชิงกรานจะยุบลง

กะงอกกะแงก เป็นคำ วิเศษณ์ หมายถึง ไม่คล่องตัว ไม่ค่อยแข็งแรง เช่น เป็นอะรายไปหล่ะ ลุง ดูเดินกะงอกกะแงกไป

กะง้องกะแง้ง หมายถึง ไม่ค่อยเข้าใจกัน ถกเถียงกัน เช่น ผัวเมียคู่นี่แปลกน้ะ มันกะง้องกะแง้งกันตะล้อดเวลา แต่มีหลูกตั้ง 7 คน

กะแง้ หมายถึง ส่วนย่อยที่แยกออกจากทะลายหมาก (เอ...ไม่ทราบว่า ทะลาย แบบนี้ถูกมั้ยคะ ท่านผู้รู้โปรดทราบและแก้ไขด้วยค่ะ) เพี้ยนมาจากคำว่า ระแง้

กะจุกหมุก (บ้านแลง) หมายถึง กะทกรก คนกรุงคงไม่รู้จักมังคะ ลักษณะลำต้นเป็นเถา มีมือเกาะ ใบป้อมเป็นรูปหัวใจ ผลกลม มีรกเป็นฝอยหุ้ม บางแห่งเรียก กะหมุก หรือ เงาะป่า

กะเฉ่ย (ที่ตะพง) หมายถึง วิ่งขาเดียว อาจจะเป็นการวิ่งเล่น หรือ ขาเจ็บ

กะช้อง หมายถึง รวมๆกันเป็นกลุ่มหรือฝูง เช่น พอไก๊มันเฮ้นเราท้อถุ๊งข่าวเปลื่อก มันจ้ะยืนคอยกันหัวกะช้องไป่เลย

กะเตะ หมายถึง เตะ สะดุด

กะเตอะ หมายถึง ไม่สวย เคอะเขิน แต่งตัวไม่เป็น ตัวอย่าง
ยัยถิดนี่หน้ะ แกแต๊งตัวกะเต้อะจริงๆ ยังก้ะคนบ่านบน

เอาละะ ทานข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลไม่มีนิดหน่อยค่ะ
แค่ลองกอง ทุเรียนสด ทุเรียนทอด เท่านั้นเอง หอบหิ้วมาจากตลาดไม่ไหว
ไม่มีใครยอมไปช่วยหิ้วมั่งเลยนี่คะ มาพูดแบบระยองกันต่อนะ

กะทุ หมายถึง แตก ระเบิดเสียงดังเปรี๊ยะๆ เอาเกลือใส่ลงไปในเตาไฟ
แล้วเกิดการระเบิดเสียงดังเปรี๊ยะๆ หรือคั่วข้าวตอก แล้วข้าวตอกแตก ก็เรียกว่า ข้าวตอกกะทุ

กะทุก คือ บรรทุก นั่นเอง เช่น เมื่อเช่านี่ หรดกะทุกซุง ชนหรดกะทุกปลา เสร๊ดไป่สาม

กะนัด หมายถึง ไม้สำหรับงัดท่อนซุง เทียบกับเครื่องกลประเภทคาน จะเข้าลักษณะของคานอันดับที่ 1

กะเน็ด หมายถึง อุปกรณ์สำหรับมัดฟ่อนข้าว ทำด้วยต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว เอาปลายรวงข้าวมามัดต่อกัน เพื่อให้ยาวพอที่จะมัดฟ่อนข้าวได้

กะพ่ำ , กะพ่าม หมายถึง กินอย่างมูมมาม กินไม่เรียบร้อย ใช้กับพวกหมูหรือหมา
และอาหารที่กินจะต้องมีน้ำอยู่ด้วย ตัวอย่าง
หมาตัวนี่ไม่หน่าเอามาเลี่ยงเลย เวลากินกะพ่ำเสียจน หน่าตาเลอะม่ด

กะพึบ กะพับ หมายถึง ลุกลี้ลุกลน ทำงานรีบร้อน

กะเพร่า หมายถึง เท่าๆกัน ไล่เรี่ยกัน เช่น เด็กที่ตัวเล็ก มีขนาดสูงเท่าๆกัน มักเรียกว่า เด็กพวกนี้ตัว กะเพร่า

กะเพิ่น หมายถึง กระจุยกระจาย แตกแยกออกจากกัน ตัวอย่าง พอเสี๊ยงผลุดัง
ควายที่ยู้กลางทุ่งหวี่งกันกะเพิ่นเลย หรือ อีหนูเอ๊ย เอ็งอ่านหนังสือแล่วเก้บให้เรียบร่อยอย่าทิ้งกะเพิ่นอย่างนั่น ใครมาเห็นเข้า อ่ายเค้า

กะพ้อ กะพล้อ หมายถึง กระบอกไม้ไผ่ที่ตัดปากให้เฉียง ใช้สำหรับกรอกยา วัว ควาย หรือสัตว์ที่ป่วย

กะโพง(บ้านค่าย) หมายถึง วิ่งกระโดดจนตัวลอย มักใช้กับควาย ควายวิ่งเรียกว่า ควายกะโพง

ขะพักไปเยี่ยมเพื่อนก่อนนะคะ ควายที่บ่านมันกะโพงไปม้ดแล่ว ฉานไปตามควายก่อนจ้า

ว่าจะชวนทานอะไรด้วยกันก็กลัวว่าจะไปเข้าข่าย ผู้หญิง'บับย่อ
ของคุณหม่องเธอเข้า คงจะทานอะไรกันเรียบร้อยแล้วนะคะ thid มีกล้วยปิ้งยัดไส้ค่ะ
ใครต้องการเชิญทานได้เลยนะคะ กระท้อนห่ออีหล้า และก็ลองกองด้วยค่ะ
ไม่ได้คิดว่าจะเป็นเสน่ห์ปลายจวักหรอกนะคะ คุณหม่อง ไม่ได้ทำเองสักอย่างนึงค่ะ ซื้อเค้ามาท้างน้าาาาานนนนนนน
เอาละค่ะ เรามาเริ่มพูดแบบระยองกันต่อดีกว่านะคะ เพราะ เจ้าของบ้านชักจะเริ่มขี้เกียจไปถามท่านผู้รู้ซะแล้วสอคะ
ไม่แน่ พูดแบบระยองอาจจะเดี้ยงกลางทางก็ได้ค่ะ แบ้บว่า มันตกกะหลุกหาย

กะมบ หมายถึง หลักที่ปักทำแนวเพื่อปลูกต้นไม้ให้แถวตรงกัน เช่นทำกะมบก่อนลงมือปลูกยางพารา เงาะ ทุเรียน

กะยาน หมายถึง ทะยาน ตัวอย่าง หมาตัวนี่มันเห็นคนม่ายได้ มันชอบกะยานคน
คำว่ากะยานนี้ จะใช้ว่า เครื่องบินกำลังกะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ไม่ได้

กะยุก หมายถึง กระจุยกระจาย ในการนวดข้าวเป็นการทำให้เมล็ดข้าว
แยกออกจากรวงข้าวหรือฟางข้าว วิธีการคือให้ควายย่ำ แล้วใช้ กระดองไห
เขี่ย ทำให้ฟางข้าวกระจาย การทำเช่นนี้เรียกว่า กะยุกฟาง บางแห่งอาจเรียก ทำฟาง

กะรื้น หมายถึง ลื่น มักใช้กับการกิน ตัวอย่าง แหนมที่เก็บไว้นานๆ มันกินออกกะรื้นๆ

กะลุ้ง หมายถึง กระทุ้ง ใช้เฉพาะการกระทุ้งเข้าไปในรู ในกระบอกหรือในท่อ
เพื่อให้สิ่งที่ขวางอยู่ หลุดออกมา เช่น กะลุ้งข้อไม่ไผ่ให้กลวง กะลุ้งดากตะบัน ตำหมากให้หลุด
หรือกะลุ้งท่อประปา แต่ถ้าจะกระทุ้งให้กำแพงทะลุ จะพูดว่า กระทุ้ง ไม่ใช่ กะลุ้ง

เป็นภาษาพูดอันเป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดระยองค่ะ เสียงจะผิดแผกแตกต่างจากภาษาถิ่นอื่นค่ะ

กะเพิ่ม = ขย่ม เช่น อย่าขึ้นไปกะเหิ่มกิ่งมันนะ เดี๋ยวดอกมันร่วงม้ด
กระแจหู = หนวกหู "โอ๊ยย ไอ่เด็กพวกนี่ คุยกันเสียงดัง กระแจหูจริง"
กระโจงโดง = ล่อนจ้อน มักใช้กับเด็กผู้ชาย เช่น ไอ้หำน่อย เอ็งอ้าบน่ามแล่ว ทำไมไม่นุ่งผ้านุ่งผ่อน มายืนแก้ผ้ากระโจงโดงอยู่ด้าย
กระจ๋อหวอ = โป๊ เปิด "เมื่อวานนี่ยายจ๋อยนั่งกระจ๋อหวอ อยู่ที่ตล้าดสดแน่ะเธอ"

กระแดะ = ไม่เรียบร้อย หลุกหลิก ซน มักใช้กับอาการของหญิงที่ไม่เรียบร้อย"จะทำอย่างไรยายจ๋อย จึงจะหายกระแด้ะเสียทีนะ แหม๊... มันกระแด้ะ เหลือกำลัง"
กระเทงเลง = ที่ดักปลา สานด้วยไม่ไผ่ วิธีการสานทำโดย ผ่าไม่ไผ่ทั้งท่อนยาวๆ ออกเป็นแฉกๆ แล้วใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นชิ้นเล็กๆสานขึ้นรูป ตรงปากมีไม้ไผ่ทำเป็นที่จับเพื่อลากขึ้นฝั่ง วิธีใช้ เอากิ่งไม่ใส่ให้เต็มแล้วนำไปแช่ไว้ในแหล่งน้ำ ปลาจะเข้าไปอาศัย ลากขึ้นฝั่งปลาก็จะตกค้างอยู่ข้างใน
กระเทงเลง บางแห่ง เรียก "กระนางเลง
กระนึก = ภาชนะใส่ของ สานด้วยไม่ไผ่รูปร่างคล้ายกระบุง ตาโปร่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีหูหิ้วทำด้วยหวายถักถ้าใส่หมากพลู เรียก "กระนึกหมาก"

กระนาง = ที่ดักปลา สานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายปุ้งกี๋ ก้นลึกแต่ใหญ่กว่าปุ้งกี๋มาก ความสูงประมาณ 1.25 - 1.50 เมตร เวลาจะนำไปดักปลา ต้องใช้กิ่งไม้มา "กร่ำ" ไว้เช่นเดียวกับกระเทงเลง
ถ้าเป็นกระนางขนาดเล็กเท่าปุ้งกี๋ จะใช้สำหรับ "เกียด"(ช้อน)ลูกกุ้ง หรือลูกปลาตัวเล็กๆ
กระเส่า = แห้ง ไม่จับตัวกัน ไม่เหนียว เช่น ข้าวเก่ามากๆ เวลาจะกินจะออกกระเส่าๆ หรือ
ขนมหนุมานคลุกฝุ่น กินกระเส่าเหลือเกิน ต้องดื่มน้ามด้วยกินด้วย
กระหูด = ที่ดักลูกปลา หรือดักกุ้งนา คล้ายไซ แต่สานค่อนข้างแน่น สานด้วยไม้ไผ่ มีทางเข้าทางเดียว มีงาด้านท้ายใช้ฟางข้าวหรือกะลามะพร้าวอุดช่องไว้ รูปทรงคล้ายแจกัน

กระอึบ = ลักษณะการเอื้อมมือเพื่อหยิบของ แต่หยิบไม่ถึงต้องเอื้อมมือออกไปอีก การเอื้อมออกไปนี้ เรียกว่า กระอึบ เช่น เมื่อเยน ฉานไปเก้บมะม่วงในสวน บันไดมันสั้นไปนิดนึง ต้องกระอึ้บเสียแทบแย่ จึงเก้บถึง
เก๊ก = เกร็ง "พี่หริ นั่งหรด อย่าเก๊กซิ มันขี่ลำบ้าก
กรอก กอก = จับตัวเป็นไข เช่น น้ำมันหมูเมื่อนำไปไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ จะจับตัวเป็นไขสีขาว เรียก "น้ำมันหมูกรอก" หรือ น้ำยางพาราที่เติมกรดแล้ว จับตัวกันเป็นก้อนแข็งเรียก "ยางกรอก"

ขนมไก่ก้าง = ข้าวเหนียวแดง
ขยับ = กิน เล่น ทำ ร้อง แสดง ฯลฯ มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น
"ไหนลองขยับข้าวต้มสักถ้วยซิ"
"ให้ผมลองขยับขลุ่ยสักเพลงนะ"
"ดูเอ็งทำไม่ค่อยถนัดเลย มา...ข้าขยับเอง" (ทำ)
"เพื่อนเสียงดี ขยับสักเพลงน่า"
ข้าวเปียกกาแค้น = ข้าวต้มที่น้ำแห้ง
ขิงเข่า = เขกเข่า การเล่นการพนันที่ไม่ต้องจ่ายเงิน เรียกเล่นขิงเข่า
ขี้เท่ด = ดื้อ พยศ ไม่เชื่อง ฉุนเฉียว เช่น
"ควายตัวนี่ มันขี้เท่ด เวลาจะจั้บมัน ต้องกะลอให้ดี
ขวานเหงาะ = ขวานที่ใช้สำหรับถากไม้ให้เรียบ ลักษณะคล้ายจอบแต่ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือและหนากว่า

แข็งแรง = มาก เช่น
ถาม "ได้ข่าวว่าลุงหริเข้าโรงพยาบาล ป่วยมากหรือ"
ตอบ "ไม่สู้แข็งแรกหรอก" หมายถึงป่วยไม่มาก

ค่อน = โค่น ตัด เช่น ค่อนต้นไม้ ก็คือ ตัดต้นไม้ นั่นเอง
คุย = คุ้ย ทำให้กระจาย
คุยข้าว หมายถึง การใช้พลั่วที่ทำด้วยไม้ด้ามยาวๆ ตักข้าวในลานนวดข้าวแล้วสาดขึ้นไป
เพื่อให้ปะทะกับลม ลมจะพัดแยกข้าวและเศษฟางออกจากกัน
แค่น = เริ่มแห้ง ใช้กับสิ่งของที่เป็นของเหลว เช่น กวนขนมเปียกปูน
เช่น กวน(ขนม)ให้พอแค่นๆ แล้วก็ยกลง
คลืดคลาด = เกลื่อนกลาด มาก
"กระท่อนที่หวัดบ้านแลง หล่นคลืดคลาดไปมด ไม่มีคนเก้บเลย"
เค่อะ = ไม่สวย ไม่งาม เปิ่น
"แดงจ๋า วันนี่ทำไมถึงด้านแต่งตัวเค่อะอย่างนี่ หือ"

งั่ก = รีบร้อน เร็ว ถี่
......ผ่านไปทางบ่านลุงฝั้ง ผมเห็นแก๋ทำงานงั่กไปทั้งวัน

งาย = หน่วยบอกเวลาของการไถนา
...... ไถนา 1 งาย คือการไถนาตั้งแต่เช้าจนถึงเพล ในเวลา 1 วัน จะไถนาได้แค่ 2 งาย

แง่ะ = ไม่สวย
..... ลูกสาวบ้านนี่ แง่ะทุกคนเลย

โงง = (เฉพาะที่ตะพง) เงา ขัดจนเป็นเงา
..... เฉ้ดหรดเสียโงงเชียวนะหมวดเรือง


ง้อกแง้ก = แกว่ง โคลงไปโคลงมา
...... เมื่อคืนผบตาแหยม กินเหล่ามาวเดินง้อกแง้ก
อยู่ตามถน๋น หรดจะชนตายเสียแล่ว


เป็นหมวด จอ


จังคราง = หมดท่าหมดทาง
.....น่างอยู่ดีๆ ขาเก้าอีกฮัก หงายจังครางไปเลย

จีม = ทำให้แน่น การใช้ลิ่มตอกเข้าไปในสิ่งที่หลวมให้
้แน่น เช่น ตอกลิ่มเข้าไปทำให้จอบแน่น เรียกว่า จีมลิ่ม

จ่อ = ต่อย (แมลงต่อย)
..... เมื่อวานนี่ ข้าดดนแตนจ่อ เสียปวดไปมด

จ้น = (เฉพาะที่ตะพง) ตรงกัน
..... อาทิตย์นี่ไม่หรู้ว่าจะไปงาน บวช แต่งงานไหนดี งานจ้นกันหลายงาน

แจงแนง = การใช้มือตอกยึดป้องกันเพื่อไม่ให้เสาล้ม บางแห่งเรียก จังแนง

จำทึง = ห่วง กังวล คำนึง
.....ลูกสาวเขาไปทำงานที่พัทยาน่ะ เขาสบายแล่ว อย่าไปจำทุงเขาเลย

จำมะรัง = บ่อยๆ (ในทางไม่ค่อยดี)
.....เจ้าทุมนี่ มันเที่ยวจำมะรังจังเลย บ่านช่องไม่ค่อยกลั๊บ

จำเออ = อะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ จำยอม เชื่อฟังไม่ว่าจะถูกหรือผิด
.....คนประเภทดังกล่าวนี้เรียกว่า "คนจำมะเออ"




หมวด ฉอ


ฉะ = กิน ดื่ม ตี เตะ ชก ฟัน ...ฯลฯ...
..... กินข้าว พูดว่า ฉะข้าว
..... ดื่มเหล้า ก็ว่า ฉะเหล้า (ใครในบ้านขวดแลนด์นี้ชอบฉะเหล้าบ้างคะ อิๆๆๆๆ)
..... ฟันหัว ก็ว่า ฉะหัว .....ฯลฯ

ฉง = ชง เช่น คุณยายวันวานขาาาาาาาฉงกาแฟ

ฉิบมั่ก = เป็นคำด่าเล่นๆ คล้ายๆ ฉิบฉี
..... ลูกน้องชายผม มันดื้อฉิบมั่กเลย

ฉิม = ขอ (บ่อยๆ) มักใช้กับการขอเงิน
..... มันออกจับอวนได้น่ำเดียว แต่ฉิมเงินไปมากมาย

เฉ็ง = ชำระ ทำให้สะอาด
..... วันอาทิตย์นี่ ถ้าว่าง ช่วยกันเฉ็งบ่อหน่อยหนะ บางแห่งก็เรียกว่า เฉ่ง

ฉำเฉ็ง = สำส่อน
..... ผู้หญิงฉำเฉ็งอย่างยายจ๋อย เอามาทำลูกเมียไม่ด่ายรอก

หมวด ชอ ช่าง

ช่อ = ดึง สาว
..... ดึงหรือสาวภาชนะที่ใช้ตักน้ำขึ้นจากบ่อ หรือโรยเชือกที่ผูกลงไป
หรือสาวขึ้นมา ก็ใช้คำว่า ช่อ

ชั่ก = เริ่ม
..... ชั่กจะง่วง คือ เริ่มจะง่วง หรือ ชั่กจะอิ่ม คือ เริ่มจะอิ่ม

ชาก = ป่าละเมาะ
..... ไอ้หนู เผาะเอ็งไปตั้ดฟืนอยู่ในชากแน่ะ

เช่ด = หมด
..... ออกจากบ่านช่าไปน้อย พอไปถึงคิวหรด หรดออกไปเช่ดแล่ว
..... น้ำหกเช่ด หมายถึง น้ำหกหมด

หมวด ซอ เซ่อ

ซะ = มาก เช่น ง่วงซะ คือ ง่วงมาก , กินซะ คือ กินมาก , เหนื่อยซะ คือ เหนื่อยมาก

ซึ้ง = ลึก
หาดซึ้ง หมายถึง หาดลึกไม่สามารถเล่นน้ำะเลได้ ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ลังถึง

ซนไฟ , ซุมไฟ = สุมไฟ

เซา = ลดลง
"เป็นไงเพื่อนหริ ตอนนี่ยังฉะเหล้าอยู่หรือปล่าว" "ไหวเซาลงบ่างแล่ว"

ต่อไป หมวด ดอ เดิน ค่ะ

ดินระทุน = ตัวปลวก

ดื่มตก = ดื่มรวดเดียวจนหมด (ใช้เฉพาะดื่มเหล้าเท่านั้น)

ดื้น = มื่อ ไม่คม
มีดดื้น หมายถึง มีดไม่คม

ดุ๋ม = เป็นคำพูดที่รวบคำว่า "ดูเหมือน" ไว้ด้วยกัน
"วารีณีจะแต่งงานเมื่อไรนะ"
"ดุ๋มทิตย์หน้านี่แหละ

ดอกไม้สด = ปลัดขิก เครื่องเซ่นเจ้าแม่หรือแก้บนเจ้าแม่ ทำด้วยไม้เล็กบ้าง ไม้ใหญ่บ้าง ทาสีสวยงาม

ด้อง = คด , งอ

เดาะ = ไม่เป็นไปตามปกติ
"วันนี่จะไปไหนจ๊ะ เดาะแต่งตัวซะสวยเชียะ"
"อายุขนาดนี่ ยังเดาะเข้าบาร์อีกรึ"
"วันนี่เดาะใส่เสื้อเสีย 3 ฉั้น กะว่าจะหนาว"

แดก = เบียดเสียด
"น้องอย่าแดกพี่ซิ กำลังจะถ่ายรูป"

แดะ (บ้านค่าย) = ซุกซ่อน , ยักย้าย
"เอาเหล้ามาไว้ข้างตู้ขวดนึง ไม่รู่ว่าใครแดะไปไว้ที่บันได"

ได้กัน = พอดีกัน ไปด้วยกันได้ ตรงกัน
เช่น การตั้งเสาบ้าน ถ้าเสาไม่ตรงกัน ช่างจะพูดว่า
"เสายังไม่ได้กัน" หรือการต่อไม้สองท่อน ถ้าไม้ตรงกันดีแล้ว เรียกว่า "ได้กันแล้ว"

หมวด ตอ ตีกัน

ตะกรง = ที่ใส่น้ำยางพารา

ตะวัน = แต่วัน ตุ้งแต่วัน (ยังไม่เย็นค่ำ) เช่น
"วันนี่รีบมาตะวันเชียวนะ สงสัยหว่ากลัวไม่ทันหร่ด" บางแห่งก็ใช้ว่า ตาวัน

ตะเคย = แต่เดิม , สมมติ
"ตะเคยว่ามาตะวันกว่านี่ คงทันหร่ดเที่ยวสุดถ้าย"

ตะกรก = ขยับ
เป็นการขยับผสมการกระแทก เพื่อให้สิ่งที่อยู่ก้นภาชนะกลับขึ้นมาอยู่ด้านบน
เช่นการจะหาตะปูหรือน้อตที่อยู่ในกระป๋อง ต้อง ตะกรก จึงจะหาน้อตได้

ตะแกร้ = รักแร้ บางแห่งเรียก "หน้าแกร้"

ตัก = กิน ตี ชก เผา มีความหมายการกระทำได้หลายอย่าง เช่น
"เมื่อตอนเย็นหิวจั๊ด ตักข้าวเสี๊ย 3 จาน"
""ใครเอาหม้ายตักหัวเสียเลือดโชกล่ะ"
"ใครแกล้งเอาไฟตักสวนยางเจ๊ตุ้มเสียหร้าบไปเลย" (เผา)

ติ๊ด = เล็กๆ
"แมวพันธุ์อะไรของเธอนะ ตัวติ๊ดเดียว"

ติ้ว = สั้น
เป้ากางเกงติ้ว = เป้ากางเกงสั้น

ตี = ช้าเฉื่อย ดื้อด้าน โง่
"ควายตัวนี่ ตีเหลือกำลัง" หมายความว่าควายที่ดื้อด้าน หัดยาก โง่

ตุ = กอง เป็นตั้งๆ
"หนังสือ 3 ตุ " ก็คือหนังสือ 3 กองนั่นเอง


ตู่น = เข็น ดันท้าย
"ทุม ไหนเอ็งช่วยตู่นหรดหน่อยซิ"

ตก = ครั้ง
"ตั้งแต่ช่าวมานี่ เจ้าเปี๊ยกมันล่อข้าว เสีย 2 ตกแล่ว"

ตกกะเน่ด = ลุกขึ้นไม่ได้ (ใช้กับควายแก่)
"ความที่บ่านฉันอาหยุ 25 ปี ตกกะเน่ด เสียแล่ว"

เต็มที = เต็มที่ มาก อาการหนัก
"ข้าวสุกหรือยัง ข้าหิวเต็มทีแล่ว" หรือถามว่า
"อาการครูหริ เป็นงัยบ้าง" ตอบ "เต็มที"

เติ่ง = ท่อนไม้สำหรับห้อยคอควาย เป็นท่อนไม้ที่ห้อยคอควายดุ
ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มันวิ่งไล่ขวิดตัวอื่น ถ้ามันวิ่ง ขาหน้าจะกระแทกไม้ ทำให้วิ่งเร็วไม่ได้

เตียว = การใช้เชือกเล็กๆ ผูกกับอวนให้ติดกับเชือกเส้นใหญ่ที่ใช้ขึงหรือฉุดอวน

ตอด = ตอแย (ทำให้เกิดความรำคาญ)
"น่อง อย่าตอดพี่เขานา เขาจะอ่านหนังสือเตรียมซอบ"

โต้ง = การใช้เชือกผูกที่ต้นไม้เพื่อดึงต้นไม้ ที่จะโค่น ให้ล้มถูกทิศทาง ไปมัดกับต้นไม้อื่นไว้

หมวด ถอ ถอง

ถ่าย ไถ่ = ทาย

ถ่อม = ลดลง
"ขนมนี่หวานเกินไป ถ่อมน่ำตาลลงหน่อยหนะ"

แถะ = แทะ

แถวราวนี้ = บริเวณนี้
"แถวราวนี่งูชุม เวลาเดินต้องระวังหน่ะ"

หมวด ทอ ท่าน

ทะลูน = ดน ผลัก

ทับ = ทำให้เปียก
"อย่างเพิ่งไปเลย เดี๋ยวฝนตกทับ"

ทิม = ต่อ การเอาผ้าสองผืนมาต่อกันแล้วเย็บหยาบๆ เรียกว่า "ทิมผ้า" ถ้าเป็นอวน เรียก "ทิมอวน"

ที่ซำ = บริเวณพื้นดินที่มีน้ำชุ่มชื้น จะใช้คำพูดว่า "ที่ซำๆ"

ที่โศก = บริเวณพื้นดินที่แห้งแล้ง

ทุ่ง = ถ่ายอุจจาระ ไปทุ่ง หมายถึงการไปถ่ายอุจจาระ ชาวนาสมัยก่อนไม่มีส้วมจึงใช้ทุ่งแทนส้วม
บางครั้งปวดท้องอุจจาระ พูดว่า "ปวดท้องทุ่ง" หรือถ่ายอุจจาระไม่ออกก็พูดว่า "ทุ่งไม่ออก"
ในบางตำบลไม่มีทุ่งจึงเข้าป่าแทน เวลาจะไปถ่ายอุจจาระก็จะพูดว่า "ไปป่า" แต่เวลาปวดอุจจาระหรือถ่ายไม่ออก
ยังไม่มีใครพูดว่า "ปวดท้องป่า" หรือ "ป่าไม่ออก"

เท่ย = ทะยอย ทอย

เท้อ = อิ่ม ไม่รู้สึกอร่อย
"ทำไมวันนี่ กินข้าวน่อย"
"มันเท้อๆเสียแล่ว"
บางครั้งก็มีความหมายว่าไม่อร่อย

โท้ = วกวน ก่อกวน ดันทุรัง
"ไอ้หมอนี่ มันพูดโท้ๆ ชอบกล"

ทีละที = คนละที คนละตอน
"ตาคงนี่นะ เวลาเมาหล้าวแล่ว เอาไม่ได้เลย แต่เวลาหายเมาแล่ว แกก็ดี มันทีละทีกันนะ"

หมวด นอ นวด

นกกระโป้ก = นกฮูก

นักนั่ก = มากมาย แยะ
"ปีนี่ถุเรียนที่บ้านมากไหม"
"นักนั่ก" หรือ "เด็กนักนั่ก มีข้ าวแค่นี่ จะพอกินหรือ"

นั่กเลง = ใช้เป็นคำพูดที่มีความหมายเป็นความชอบ ความถนัดในแต่ละอย่างในทางที่ไม่ค่อยดี เช่น นักเลงการพนัน นักเลงเหล้า
ถาม " เล่นไพ่มั้ย"
ตอบ "ไม่ร้อก ผมไม่นั่กเลงเลย"
ถาม "กินเหล้ามั้ย"
ตอบ "ผมไม่นั่กเลงเลยครับ"

นมเนือ = ยังไม่สุก เกือบสุก ห่าม
"แตงนมเนืออย่างนี่ มันคงไม่หวานแน่ๆ" หมายถึงแตงยังไม่แก่จัด

นอย น่อย = น้อย หน่อย
"มีที่อยู่นอย ถูกถนนตั้ดผ่านเสียแล่ว"

นำหงอน = ชักนำ ทำตัวอย่าง
"เอ็งนำหงอนน่องก่อนนี่ พอน่องทำตามบ้างก็ว่าไม่ดี"

น้ำเต้า = ฟรี ไม่ต้องจายเงิน
มักจะใช้กับธุรกิจที่ต้องใช้บัตร เช่น ดูมวย ดูหนัง นั่งรถ จะเรียกว่าดูหนังน้ำเต้า ดูมวยน้ำเต้า นั่งรถน้ำเต้า หมายถึงไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าไปซื้อหมูที่ตลาดแล้วแม่ค้าไม่รับเงิน จะไม่เรียกว่า หมูน้ำเต้า

น้ำมันแก๊บ = น้ำมันก๊าด

น้ำมันเนื้อ = ไขเนื้อ
ใช้มาเพลาเกวียนเพื่อหล่อลื่น

น้ำนอง = มดชนิดหนึ่งตัวค่อนข้างดำ เรียก มดน้ำนอง

หมวด บอ บาน

บาน = มากมาย
"เมื่อวานนี่ ฉันไปเที่ยวที่พัทยา คนบานเลย"

บ้าแป้ง = ใช้กับมะขามใกล้จะกรอก เปลือกเริ่มอ่อน เรียกว่า มะขามบ้าแป้ง บางแห่งเรียก "โม่แป้ง"

บ้านบน = บ้านนอก
"คนบ้านบนไม่ค่อยจะรู้กฎจราจรเลย"

เบอะ = ไม่สวย ไม่มีระเบียบ
"ยายคนนี่ แต่งตัวเบอะจริง"

บ่อน = ทำให้รุงรัง
"พ่อไปธุระครึ่งวัน ลูกเอาอะไรมาบ่อนเสี้ยเต็มบ้านไปเลย มาช่วยกันเก้บให้เรียบร่อย"

ปั้ก = แปลง (บริเวณสำหรับปลูกพืช)
"ปลูกแตงน้ำค้าง(แตงโม) ไว้สองปั้ก เผลอไม่ได้เลย เด็กเลี้ยงควายแอบขโมยกินกรุ่ม"
ปี๋โก๋ = ข้าวเหนียวเปียก อาจใส่ลำไยหรือมะพร้าวอ่อน
เป็นกำลัง = สม่ำเสมอ เป็นอาจินต์
"ลูกชายนิพนธ์ขยันไหม"
"อยู่ที่บ้าน ผมเห็นมันดูหนังสือเป็นกำลัง"
ถ้าเที่ยวเก่งจะพูดว่า "เที่ยวเป็นกำลัง"
เปิด = ไป ไม่อยู่
"กินอิ่มแล้ว เปิดดีกว่า"
"คุยกันยังไงก็ไม่รู้เรื่อง ข้าเปิดก่อนละ"
ป้อ = ถม หมายถึงใช้ดินถมหัวคันนา หรือร่องปลูกผัก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกมา หรือป้องกันน้ำเข้า
โปร่ง = สบายใจ โล่งใจ
ถามคนป่วยว่า " วันนี้อาการเป็นอย่างไรบ้าง"
ตอบ " วันนี่ไม่โปร่งเลย"
หรือ " วันนี่ค่อยโปร่งกว่าเมื่อวาน"
ผ่ะหวะ อ่านว่า ผะ - หวะ = หมายถึงการให้สัตว์เลี้ยงตัวเมีย เช่น วัว ควาย หรือ ม้า ผู้อื่นไปเลี้ยง เมื่อมีลูกจะแบ่งลูกกันคนละตัว ใครจะเอาตัวแรกหรือตัวหลัง แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ตัวเมียนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอยู่
"ผวะควายให้ใครไปล่ะ"
หรือ " ควายตัวนี่ผวะกับฉันไหม"
เผลิ่ง = ใช้ประกอบกริยา " ตี "
ตี - ตีเผลิ่ง
เตะ - เตะเผลิ่ง
หรือ " เสียงอะไรหล่นเผลิ่งอยู่ในครัว"
ฝักมะขาม = วงล้อจักรยาน ขอบล้อเกวียน หรือชิ้นส่วนของกงเกวียน

ฝาแตะ = ฝาไม้ ทำด้วยไม้แผ่นๆ ตอกรอบๆชานบ้าน เรียก ฝาแตะ ถ้าทำด้วยไม้ไผ่ สานขัดกัน ก็เรียกฝาขัดแตะ

เฝือ = ใช้ประกอบกริยา "ขวิด" เป็นอาการขวิดดิน ขวิดหัวคันนาของควาย
"ไอ้ทุยมันเห็นตัวเมียไม่ด้าย จะต้องขวิดเฝือถุกที"
พัดเย็น = พัดลม
พัลไล = กันสาดที่ต่อออกมาบริเวณชานบ้าน
พึง = ระดับ
ถาม " น่ามในสระลึกแค่ไหน"
ตอบ " พึงคอ "
ใช้พูดกัน 3 ระดับ ความสูง ได้แก่ พึงคอ พึงอก พึงเอว แต่ไม่พูดว่าพึงเข่า พึงหน้าแข้ง หรือพึงตาตุ่ม แต่จะใช้คำว่า "แค่" แทน

พุ่ก = หมดอายุ เสื่อมคุณภาพ มักใช้กับไม้ที่เสื่อมคุณภาพ หรือหมดอายุ ว่า "ไม้พุก" ความหมายไม่เหมือน ผุ
พอใจ = มาก
"ควายตัวนี่ตัวโตพอใจ"
"เมื่อคืนกินหล้าวกั้บเพื่อน เมาพอใจเลย"
"เมียเพื่อนนี่ดุพอใจเลยนะ"

พอแรง = มาก
"เมื่อวานนี่ที่กระเฉท ฝนตกพอแรงเลย"
"วันนี่หิวจั๊ด กินข้าวเสียพอแรง"
พ่อคุณ = ตา (สามีของยาย)
คำว่า "แม่คุณ" คือ ยาย บางแห่งเรียก ตากับยาย รวมกันว่า "คุณ" คำเดียว
พลั่ด = ตก หล่น
" นั่งดีๆนะ เดี๋ยวพลั่ดลงไป"
พลุ่ = หล่ม ตกหล่ม เรียกว่า ตกพลุ่
"ขับเกียนมาตามแซง เกียนตกพลุ่ เชือกทามขาด ควายวิ่งกะเพิ่นเลย"

พลุ่ = ยุ้งข้าว บางทีเรียกว่า "พลุ่ข้าว"
พลง = ป่าที่มีน้ำขัง
แพร่ว = ชำนาญ คล่องแคล่ว
"พั้ติ๊เล่นพ่ายเป็นมั้ย"
"โอ๊ยย เรื่องนี่แพร่วนัก"
พราก = แยกออก เช่น พรากไฟออกจากเตา หมายถึงการเอาฟืนออกจากเตาไฟ เพื่อลดอุณหภูมิ
พราก = แนวเฉียง การตัดกระบอกไม้ไผ่เพื่อทำ "กระพ้อ" จะต้องตัดปากให้พราก (เฉียง) เพื่อสะดวกในการกรอกยาสัตว์

เพิก = โพรงที่อยู่ริมตลิ่ง อาจจะเป็นที่เกิดจากกิ่งไม้ รากไม้ หรือโพรงดินก็ได้
ฟาก = พื้นบ้านทำด้วยไม้เป็นแผ่น ปกติฟากทำด้วยไม้ไผ่สับ

ฟั้น = ย่ำ ลุย เดินย่ำทรายหรือลุยทราย จะพูดว่า "เดินฟั้นทราย" ถ้าเดินลุยน้ำ จะไม่พูดว่า เดินฟั้นน้ำ

ฟื้นที่ = พรวนดินเพื่อพลิกดิน
"ช่วยพ่อฟื้นที่หน่อยลูก เดี๋ยวพ่อจะปลูกผัก"

ไฟชิก = ไฟแช็ก
มัดต้ม = ข้าต้มมัด
มั่งๆ = หมาด
"ก่อนจะดองผักก้าด จะต้องตากแดดให้พอมั่งๆ เสียก่อน"
มูล = พูน (เต็มจนล้น)
"ไอ้ตี๋ เอ็งตั้กข้าวมูลชามยังงี่ จะกินหมดหรือ"
ม่อง = ป่วยเล็กน้อย กระเสาะกระแสะ
"นายหมึกมันเป็นอะไรไป หายไปสองวันแล่ว"
"มันม่องไปมังครับ"
"มันจะตายไปได้อย่างไร ฉันเห็นมันแข็งแรงดี"
"ไม่ใช่ตาย มันป่วยครับ"

ไม่ค่อยดี = ป่วย (เล็กน้อย)
"เป็นอะไร หน้าตาไม่ค่อยสบาย"
"ไม่ค่อยดีมาหลายวันแล่ว"

ไม่จักกะพูด = ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี
ไม่จักกะบอก = ไม่รู้จะบอกอย่างไรดี
ไม่จักกะว่า = ไม่รู้จะว่าอย่างไรดี
ไม่จักกะเอา = ไม่รู้จะเอาอย่างไรดี
" ถ้าจะแก้ะผ้าพันแผล๋ออกเดี๋ยวนี่ได้ไหม"
"ถ้าแก้ะตอนนี่ ปวดไม่จักกะเอาเชียว"
ไม่สู่ = ไม่ดี ไม่สวย ไม่อร่อย
"อาหารร้านนี้อร่อยไหม"
"ไม่สู่"

ไม้หวาย = ไม้เรียว
"ครูให้นักเรียนไปหาไม้หวายมาอันหนึ่ง แต่นักเรียนไปหักเรียวมะขามมา ครูก็ไม่ปฏิเสธ"

ยั่ก = ขยัก เหลือไว้
"อีหนูเอ็งอย่ากินขนมเสียมดหน่ะ ยั่กไว้ให้น่องเอ็งบ้าง"
ยั่ด = กินจุ กินมาก
"เจ้าก๋อยนี่ เจออาหารดีๆทีไร ยั่ดเสียเต็มขราบถุกที"
ยิง = ตอก
นาย "นายกุน เธอไปไหนมา ฉันจะให้เธอไปตอกตะปูที่รั้วหน้าที่ทำงานหน่อย คอยตั้งนาน"
กุน "ผมไปยิงเหล็มาขราบ"
นาย "ยิงเหล็กอะไรของเธอ"
กุน "ก็ตอกตะปูนั่นและขราบ"
ใยครัว = ครัว
"ฉันรื่อสังก้ะสีก่าวๆจากใยครัว มาทำหลังค่ปะรำ"

ระดม = ป่าย่อมๆที่อยู่รอบๆสวน ไร่
"ควายอีกสองตัว กินหญ้าอยู่ริมระดมโน่น"
รั่ด = ไล่ กวด
"เอ็งช่วยกันรั่ดข้าหลายคนอย่างนี่ ข้าจะหนีได้ทันอย่างไร"
รางตะเข้ = รางรองน้ำจากชายคาบ้านสองชายคาที่ชนกัน
รื้อ = ชำระ การชำระล้างบ่อให้สะอาด เรียกว่า รื้อบ่อ
รอด = ใช้ประกอบคำกริยาได้หลายคำ เช่น ลง ขึ้น ไป กลับ นอน อยู่ ฯลฯ
ใช้ให้เด็กออกไปซื้อของในเวลากลางคืน ถ้าเด็กตอบว่า "ไปไม่รอด" หมายถึงอาจจะกลัวผี หรือกลัวอันตราย
หรือ ให้คนมานอนเฝ้าบ้านในเวลากลางคืน โดยให้เฝ้าอยู่คนเดียว คนเฝ้าอาจตอบว่า "อยู่ไม่รอด" หรือ "นอนไม่รอด"

รอน = ตัด เรียกการตัดกระบอกไม่ไผ่เพื่อทำข้าวหลามว่า "รอนไม้ไผ่
รวด = เที่ยว ครั้ง
"วันนี่ฉันไปตล้าดมา 3 รวดแล่ว"
หรือ "พรุ่งนี่จะสอบแล่ว ฉันยังอ่านหนังสือได้รวดเท่านั่น"
โรงสาย = ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
แห = ไม่เชื่อง จับยาก ใช้งานยาก
" ควายตัวนี่มันแห ต้องกะเหลาะให้ดีจึงจะจับด้าย"
แหน = แนะนำ
" คุณจะไปหาบ้านลุงฝั่งรึ คับหรดไปถึงสะพานคลองคุด (คลองขุด) แล่วถามเข๋า แล่วเขาจะแหนให้เอง "
โหง = โคลง อาจทำให้ล้ม
"กะทุกฟ่อนเสียล่นอย่างนี่ เดี๋ยวโหงตายหน้ะ "
โหงเหง = โคลงเคลง โงนเงน เวียนหัว
" ลุงหนิดครับ อาการป่วยของลุง ค่อยทุเลาหรือยัง "
" ไหวดีแล่ว แต่ยัง โหงเหงเหลือเกิน "
หมาง = หมางเมิน
" เพราะตำแหน่งกำนัน แท่ๆเลยทำให้ ผู้ใหญ่หงอกเกิดหมางๆ กับผู้ใหญ่ดำ "
เหยิด = หยุด
เป็นคำพูดสำหรับสั่งให้ควายหยุดเดิน
หมาหลี, หมอหลี = จอมปลวก สีน้ำตาลปนดำ ถ้าเกิดในบ้านคน มักจะสร้างบ้านเล็กครอบไว้
แล้วใช้ผ้าแดงคาดและบูชาอ้อนวอน ขอโชค ขอหวยแล้วแต่ความเชื่อ
หม้อดำ = หม้อดิน เป็นหม้อมีหู ทรงค่อนข้างแป้น
เหม็นลม = ใกล้จะบูด
" ข้าวในหม้อนี่ เหม็นลม เททิ่งได้แล่ว "
เหล็ก = ตะปู
" ไปซื่อเหล็ก 3 นิ้ว มาโลนึ้ง "
เหลือกำลัง = มาก ใช้ประกอบคำกริยาได้หลายคำ เช่น อิ่ม หิว ง่วง ขี้เกียจ
" เด็กกำลังโต นี่มันกินเหลือกำลัง
ง่วงเหลือกำลัง
ขี้เกียจเหลือกำลัง "
หรุบ = ยังไม่สุก (ใช้กับการหุงข้าว) ข้าวที่หุงดิบๆ สุกๆ มีเมล็ดข้าวเคี้ยวกรุบๆ เรียกว่า "ข้าวหรุบ" กินแล้วท้องขึ้น
ไหว = เริ่ม เริ่มต้น ใช้ประกอบคำกริยาหลายคำ เช่น
ไหวอิ่ม = เริ่มจะอิ่ม
ไหวเหนื่อย = เริ่มจะเหนื่อย
ไหวง่วง = เริ่มจะง่วง
ไหมพรม (ตะพง) = แมลงปอ
ไหล = การทำบุญวันสงกรานต์ ประเพณีมีการรดน้ำ สาดน้ำ บางแห่งอาจถึงอุ้มสาวลงน้ำ เรียกว่า "ไหล"
" วันนี่ไหลที่หวัดไหน"
หวีด = ดีดกลับ
" แร่ว (แร้ว) ที่ดักหนกไว่หวีดแล่ว แต่ไม่ได้หนก หนกหนีไปแล่ว"
โหงกมะพร้าว = ทางมะพร้าว ตรงส่วนที่ยึดติดกับต้นมะพร้าว มีลักษณะโค้ง ใหญ่ และหนา
อังงะอังกะ = ตัดสินไม่ได้ , ลังเลใจ
"ตอนนี่ยังอังงะอังกะอยู่ ว่าจ้ะเชิญแขกมางานสักกี่พันดี"
อัง = เข้าหา เข้าใกล้
" แม่ยายข้าดุ้เสียอังไม่ติ้ดเลย"
หรือ " ดุ้อย่างนี่เอ็งอย่าอังเข้าไปน่ะ "
อัน = แปลงย่อย
ลักษณะนามของนา ที่มีหัวคันนาล้อมรอบ แปลงหนึ่งอาจมีนาหลายอัน จะเรียกว่า "นา 2 อัน" "นา 3 อัน"
"ฉันยังดำนาไม่เสร๊จอีก 3 อัน"
อีเจ้ = พี่สาว
อีจ๋อย = เป็นคำที่ใช้เรียกอวัยวะเพศของเด็กหญิงเล็กๆ
อีเถิด = เล่นเอาเถิด
เป็นการละเล่นของเด็กๆ ชนิดหนึ่ง โดยเล่นไล่จับกัน
อีตุก = เครื่องดักปลาไหล ลักษณะเหมือนตุ้ม หรือ อีตุ๋ม แต่ขนาดเล็กกว่า
อีทุบ = เครื่องดักจับสัตว์ ทำเหมือนแร้ว แต่แทนที่จะใช้บ่วงดักกลับใช้คันที่ทำด้วยไม้รวก (หรือไม้จริง)
ที่ง้างออกทุบสัตว์จนตาย
อีนม = แม่ หรือผู้ให้กินนม
อีปิ๊ = เป็นคำที่ใช้เรียกอวัยวะเพศของเด็กหญิงเล็กๆ
อีโป้ = ผ้าขาวม้า
อีพุ้ย = เครื่องวิดน้ำเข้านา ทำด้วยไม้ไผ่สานหรือปี๊บตัดทะแยง มีด้าม เวลาใช้จะแขวนไว้กับเสา
แล้ววิดน้ำเข้านา บางแห่งเรียกว่า "อีเต้า" บางแห่งเรียกว่า "คันโพง"
อีเหม็น = ต้นสาบเสือ บางแห่งเรียก ต้นดอกขาว
อีริง = เครื่องดักสัตว์ ลักษณะเป็นบ่วงเล็กๆ ผูกติดกับไม้แหลมๆ สำหรับปักลงดินเป็นแถวยาว
อีเหล่งเข่งขั่ง = ไม่เรียบร้อย (มักใช้กับการวางของเกะกะ
" ม่ายอะไรของแกนะ วางอีเหล่งเข่งขั่งไปมด"
อีแหวก = แมงกะชอน
อึบ (บ้านกร่ำ) = ขึ้น
แอ้ว = พยุง หิ้วปีก
เอาได้ = เป็นคำที่มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น ดี อร่อย เร็ว เพราะ สวย ฯลฯ
ถาม " อาหารร้านครูอ๊อย อร่อยไหม"
ตอบ "เอาได้" ถาม "สาวที่มาในงานนี่ เป็นเด้กดีน่ะ"
ตอบ "เอาได้"

ถาม " คุณดูกีฬานานาชาติแล้ว เร็วไหม"
ตอบ "เอาได้"

ถาม "รีเซฟชั่นของโรงแรมนี้สวยไหม"
ตอบ "เอาได้"
หมายเหตุ คำว่า"เอาได้" นี้ เป็นคำอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่เคยไปอยู่ระยอง
หรือไม่เคยศึกษา ภาษาระยอง เพราะมีข้าราชการต่างจังหวัด ที่ย้ายมาอยู่ระยองคนหนึ่ง
เคยกระเป๋าฉีก สร้อยคอขาด นาฬิกากระเด็น(ใช้เป็นสินไหม) มาแล้ว
เพราะคำว่า "เอาได้" นี้เอง

เอาไม่แล้ว = มาก เหลือเฟือ
คนไข้ "หมอครับ ถ้าเปิดแผลตอนนี้ได้ไหมครับ"
พยาบาล "ถ้าขืนเปิดตอนนี้เถอะ จะเจ็บ ร้องเอาไม่แล้วเลย"
เอาไม่อยู่ = ไม่เชื่อฟัง ดื้อรั้น แห
กรรมการห้ามมวยคนหนึ่ง เตือนนักมวยที่ชกผิกกติกาหลายครั้ง แต่นักมวยไม่เชื่อฟัง
จึงเดินไปคว้าไมโครโฟน มาประกาศด้วยความโมโหสุดขีดว่า
"มวยคู่นี้ ผมเอาไม่อยู่ ไม่มีการตัดสิน"
เอาแรง = การไปลงแขก ได้แก่การไปทำงานของผู้อื่น ร่วมกันไว้ เรียกว่า "ไปเอาแรง" เมื่อตนเองทำงานบ้าง

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหา The Windows Installer Service could not be accessed


เมื่อลงโปรแกรมแล้วขึ้นข้อความ
the windows Installer Service could not be accessed
this can occur if you are running windows in safe mode,or if the windows installer is not correctly installed.contact your support personnel for assistance


เรามีทางแก้ไห้ท่าน ดังนี้

1. คลิก Start, คลิก Run, พิมพ์ MSIEXEC /UNREGISTER, แล้วคลิก OK. หลังจากนั้นทำตามวิธีที่ 2 ต่อเลยครับ

2. คลิก Start, คลิก Run, พิมพ์ MSIEXEC /REGSERVER, แล้วคลิก OK.

3. หลังจากนั้ลองทดสอบลงโปรแกรมดูอีกครั้ง จบครับ


credit : momayvj
form :bloggang

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบ Cloud Storage ของ SkyDrive, iCloud, Google Drive และDropbox


ปัจจุบันถ้ากล่าวถึง Cloud Storage หรือเรียกง่ายๆ ก็คือการบริการเก็บข้อมูลโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะตอนนี้กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสูง แต่ละค่ายก็มีการแข่งขันกันสูงมาก ซึ่งล่าสุดเจ้าแห่ง Search Engine อย่าง Google ก็โดดมาร่วมการแข่งขันอันนี้ด้วย เริ่มด้วยเปิดให้บริการ Google Drive เนื่องด้วยมีการบริการแบบนี้กันหลายเจ้า การแข่งขันในการให้พื้นที่การเก็บข้อมูล รายละเอียดปลีกย่อยในการให้บริการแต่ละรายก็มีข้อเสนอ เงื่อนไข จุดเด่นและจุดด้อยต่างกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนในการเลือกใช้บริการจะใช้ของบริการเจ้าไหนกันดี บทความนี้จะนำเสนอการเปรียบเทียบคุณสมบัติของบริการพื้นที่เก็บข้อมูลของผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ราย คือ
  • SkyDrive ของไมโครซอฟท์
  • iCloud ของแอปเปิล
  • Google Drive ของกูเกิล 
  • Dropbox ของดรอปบ็อกซ์
เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
 
SkyDrive
เว็บไซต์: SkyDrive
SkyDrive นั้นถ้าไม่อยู่ในรายชื่อก็คงประหลาดมากเพราะเจ้าของก็คือ ยักษ์ใหญ่แห่งโลกซอฟท์แวร์ไมโครซอฟท์นั้นเอง SkyDrive นั้นเริ่มบริการมาพักใหญ่แล้ว แต่ช่วงนี้เมื่อมีการแข่งขันสูงทางทางไมโครซอฟท์ทำการปรับปรุงSkyDrive ใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังออก SkyDrive App ซึ่งทำให้ใช้งาน SkyDrive ได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น โดยให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 7 GB (สูงสุด 25 GB สำหรับผู้ใช้เก่า) ซึ่งถึอว่าสูงที่สุดในผู้ให้บริการทั้งหมดใน ราย การเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทางเว็บและ SkyDrive App จากคอมพิวเตอร์ที่ใช้โอเอสเป็นWindows และ MAC OS X อุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ต ไอแพด ไอแพด ไอโฟน และสมาร์ทโฟนระบบ Windows Phone และ Android
ทั้งนี้ยังสามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แบบ Share with anyone ได้ และยังใช้ร่วมกับบริการ Office Web App ทำให้สามารถสร้างและแก้ไขเอกสาร Microsoft Word, Microsoft PowerPoint และ Microsoft Excel ได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office ได้อีกด้วย แต่ที่น่าเสียดายอยู่อย่างหนึงคือไม่สนับสนุน Windows XP
Apple iCloud
เว็บไซต์ Apple iCloud
Apple iCloud เป็นบริการของผู้ที่เป็นสาวกของ Apple โดยแท้ ให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 5 GB สามารถเข้าถึงได้ทาง ไอแพด ไอโฟน และการใช้งานต้องมี Apple ID และอนุญาตให้เก็บไฟล์ฟรีได้เฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น อย่างเช่น รูปภาพ ในกรณีต้องการเก็บไฟล์เอกสาร iWork ในระบบ iCloud ผู้ใช้ต้องเสียเงินซื้อ iWork App และไม่มีฟีเจอร์แชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แบบ Share with anyone

Google Drive
เว็บไซต์: Google Drive
เจ้าแห่ง Search engine ไม่ใครที่ไม่รู้จักได้ลงสนามแข่งขันด้วยทำทั้งทีก็ต้องได้ชื่อเสียง บริการของ Google ใช้ชื่อว่าGoogle Drive ให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 5 GB สามารถเข้าถึงได้ทางเว็บและโปรแกรมของ Google Drive ซึ่งมีบริการทั้งเวอร์ชันสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Windows และ MAC OS X อุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ต Android สามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แบบ Share with anyone  แต่ถ้าต้องการจะบริการเก็บและแบ่งปันรูปภาพจะต้องใช้บริการGoogle+ และ Picasa ซึ่งให้บริการแยกต่างหากออกไป

DropBox
เว็บไซต์: Dropbox
Dropbox ให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 2 GB และให้พื้นที่เพิ่ม 500MB ฟรีเมื่อผู้ใช้ทำการอัปโหลดรูปหรือวิดีโอ 500MB ด้วยฟังก์ชัน Automatic Uploading ด้วยโปรแกรมแกรม Dropbox  โดยจะเพิ่มพื้นที่ฟรีสูงสุด การเข้าใช้งานแล้ว 3GB ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรีสูงสุด 5GB โดย Dropbox สามารถเข้าถึงได้ทางเว็บและโปรแกรม Dropbox จากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Windows, MAC OS X และ Linux อุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ต ไอแพด ไอโฟน และสมาร์ทโฟนระบบ Android และ BlackBerry นอกจากนี้ ยังสามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แบบ Share with anyone ได้
สรุปรูปแบบการบริการ
Free file storage and access
Free file storage and access
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Cloud Storage
7 GB
5 GB*
5 GB
2 GB
Windows
ok

ok
ok
MAC
ok

ok
ok
WEB
ok

ok
ok
Remote access
ok
ok



Access files on the go
Access files on the go
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
iPhone and iPad
ok
ok*

ok
Windows Phone
ok



Android
**

ok
ok
Mobile Web
ok

ok
ok

Work together online
Work together online
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Work seamlessly with Microsoft Office Across PC, Mac and Web
ok



View and edit online for free
ok

ok

Edit online at the same time as others
ok

ok
ok
Track versions
ok

ok


Capture anythings,get to it later
Work together online
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Free note-taking apps for your phone
ok
ok*



Showcase your photos
Showcase your photos
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Online slide shows
ok
ok
***
ok
Email slide shows
ok

***

Post to Facebook and Twitter
ok

***
ok
Captions
ok
ok
***
ok
Show geotags
ok
ok
***


Simple file sharing
Simple file sharing
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Share with anyone
ok

ok
ok
Online viewing for Office files
ok

ok

Large file support (Free)
2 GB

5 GB
2 GB

ในกรณีถ้าผู้ใช้ต้องการบริการที่เพิ่มเติมจากที่ให้บริการแบบฟรี ผู้ใช้ก็สามารถรับบริการเพิ่มเติมจากเดิมได้แต่ต้องเสียค่าบริการ โดยมีอัตราค่าบริการดังนี้
SkyDrive คิดอัตราบริการต่อปีถูกที่สุด โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ขนาด คือ
  • 20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 300 บาท (10$)
  • 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 750 บาท (25$)
  • 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,500 บาท (50$)
Apple iCloud คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ขนาด คือ
  • 20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,200 บาท (40$)
  • 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 3,000 บาท (100$)
Google Drive มีพื้นที่ความจุให้เลือกขนาดเดียวคือ
  • 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,800 บาท (60$) ต่อปี
Dropbox คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ขนาด คือ
  • 50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 2,970 บาท (99$)
  • 100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 5,790 บาท (199$)
Paid storage option (Annual price)
SkyDrive
Apple iCloud
Google Drive
Dropbox
Add 20 GB
$10
$40


Add 50 GB
$25
$100

$99
Add 100 GB
$50

$60
$199
หมายเหตุ:
* iCloud อนุญาตให้เก็บไฟล์ฟรีได้เฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น อย่างเช่น รูปภาพ ในกรณีต้องการเก็บไฟล์เอกสารiWork ในระบบ iCloud ผู้ใช้ต้องซื้อ iWork App เพิ่ม
** SkyDrive สามารถทำงานร่วมกับ OneNote เวอร์ชันแอนดรอยด์ เพื่อทำการจับภาพที่ต้องการได้
*** Google Drive มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเก็บไฟล์เอกสารเป็นหลัก สำหรับบริการเก็บและแบ่งปันรูปภาพนั้นกูเกิลมีบริการที่แยกต่างหากคือ Google+ และ Picasa

สำเนียงเสียงระยอง